เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายวิโมกข์ 3



ธรรมดาว่า รูปาวจรกุศลนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจอภิภายตนะเพราะ
ครอบงำอายตนะ คือ อารมณ์อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ โดยที่แท้ รูปตายนะนี้
ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิโมกข์ด้วย เพราะฉะนั้น บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง
นัยแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้ อีก.
ถามว่า ก็ธรรมคือวิโมกข์นี้ บัณฑิตพึงทราบได้อย่างไร ตอบว่า
พึงทราบได้ ด้วยอรรถว่าหลุดพ้น. อะไรเล่า ชื่อว่า อรรถว่าหลุดพ้นนี้.
ก็อรรถว่าหลุดพ้นนี้ เป็นการหลุดพ้นอย่างดีจากปัจจนีกธรรมทั้งหลาย และ
เป็นการหลุดพ้นอย่างดีด้วยอำนาจแห่งความยินดียิ่งในอารมณ์ มีอธิบายว่า
ธรรมคือวิโมกข์นี้ย่อมเป็นไปในอารมณ์ โดยความไม่เกี่ยวข้องกับปัจจนีกธรรม
และความยินดียิ่งในอารมณ์ เพราะความไม่ยึดถือ เหมือนทารกปล่อยอวัยวะ
น้อยใหญ่ นอนบนตักของบิดา ฉะนั้น.
ก็เพื่อทรงแสดงรูปาวจรกุศลที่ถึงความเป็นวิโมกข์ด้วยลักษณะอย่างนี้
จึงทรงเริ่มนัยนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูปี (มีรูป) มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า
รูปี เพราะอรรถว่า รูปของบุคคลนั้นมีอยู่ คือ รูปฌานที่ให้เกิดขึ้นในโกฏฐาส
มีผมเป็นต้นในภายใน. จริงอยู่ พระโยคาวจรเมื่อทำบริกรรมนีลกสิณในภายใน
ย่อมกระทำที่ผม หรือที่น้ำดี หรือที่ดวงตา เมื่อจะกระทำปีตกสิณ ย่อมทำ
มันข้น หรือที่ผิวหนัง หรือที่ฝ่ามือฝ่าเท้า หรือที่ตาสีเหลือง เมื่อจะทำ
บริกรรมโลหิตกสิณ ก็ย่อมทำที่เนื้อ หรือที่เลือด หรือที่ลิ้น หรือที่ฝ่ามือฝ่าเท้า
หรือที่สีแดงแห่งลูกตา เมื่อจะทำบริกรรมโอทาตกสิณ ก็ย่อมทำที่กระดูก

หรือที่ฟัน หรือที่เล็บ หรือที่สีของลูกตา. คำว่า รูปี นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายเอาบุคคลคนหนึ่ง ในบรรดาบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยฌานที่เกิดขึ้น
เพราะทำบริกรรมด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า พหิทฺธานิ รูปานิ ปสฺสติ (เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก)
ได้แก่ ย่อมเห็นรูปมีนีลกสิณเป็นต้นแม้ในภายนอก ด้วยฌานจักษุ (ด้วยจักษุ
คือฌาน) ด้วยคำว่า ย่อมเห็นในรูปในภายนอก นี้ ทรงแสดงการได้ฌาน
ในกสิณวัตถุทั้งในภายในทั้งในภายนอก.
บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี (ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน)
ความว่า ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน อธิบายว่า บุคคลนั้นไม่มีรูปาวจรฌาน
ที่ให้เกิดขึ้นในโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้นของตน ด้วยคำว่า ไม่มีบริกรรม
สัญญาในรูปภายใน
นี้ ทรงแสดงถึงความที่พระโยคาวจรได้ฌานในอารมณ์
ภายนอก เพราะทำบริกรรมในวัตถุภายนอก. ด้วยบทว่า สุภํ (งาม) นี้
ทรงแสดงฌานทั้งหลายในวรรณกสิณมีสีเขียวเป็นต้นที่บริสุทธิ์ดีแล้ว. บรรดา
ฌานที่เป็นไปในวรรณกสิณเหล่านั้น ความผูกใจว่า งาม ไม่มีในอัปปนาใน
ภายใน แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระโยคาวจรใดทำสุภกสิณที่บริสุทธิ์ดีแล้ว
ให้เป็นอารมณ์อยู่ พระโยคาวจรนั้นผูกใจอยู่ในวรรณกสิณว่า งาม สงัดจาก
กาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วเข้าถึงปฐมฌานอยู่ ทุติยฌานเป็นต้น
ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงทำเทศนาไว้อย่างนี้ แต่ในปฏิสัม-
ภิทามรรค ท่านกล่าวว่า สภาวธรรม ที่ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะอรรถว่า
เป็นผู้น้อมไปในคำว่า งาม ดังนี้ เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
มีจิตสหรคต (ประกอบ) ด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่ สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเป็นผู้ไม่ปฏิกูล เพราะเจริญเมตตา ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยกรุณา. . .มุทิตา

. . .อุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ไม่ปฏิกูล
เพราะเจริญอุเบกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะ
อรรถว่า เป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่า งาม ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้ แต่ใน
พระอภิธรรมนี้ พระองค์ทรงปฏิเสธนัยนั้น เพราะความที่พรหมวิหารมาแล้ว
ในพระบาลีข้างหน้านั่นแหละ ทรงตรัสอนุญาตสุภวิโมกข์ไว้ด้วยอำนาจนีลกสิณ
ที่ดี ปีตกสิณที่ดี โลหิตกสิณที่ดี โอทาตกสิณที่ดี นีลกสิณที่บริสุทธิ์ ปีตกสิณ
ที่บริสุทธิ์ โลหิตกสิณที่บริสุทธิ์ โอทาตกสิณที่บริสุทธิ์เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้
คำว่า กสิณ หรือคำว่า อภิภายตนะ หรือคำว่า วิโมกข์ ก็คือรูปาวจรฌาน
นั่นเอง. จริงอยู่ รูปาวจรฌานนั้น ตรัสว่า ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่า
ทั่วไปแก่อารมณ์ ชื่อว่า อภิภายตนะ เพราะอรรถว่า ครอบงำอารมณ์
ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะอรรถว่า น้อมใจไปในอารมณ์ และเพราะอรรถว่า
หลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย บรรดาเทศนากสิณ อภิภายตนะและ
วิโมกข์เหล่านั้น เทศนากสิณ พึงทราบว่า ตรัสไว้ด้วยอำนาจพระอภิธรรม
ส่วนเทศนา 2 อย่างนอกจากนี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจการเทศนาในพระสูตร. นี้
เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในวิโมกข์นี้ แต่ว่า วิโมกข์แต่ละข้อ พึงทราบ
นวกนัย 75 หมวด โดยทำเป็นข้อละ 25 ดุจปฐวีกสิณแล.
วิโมกข์ขกถาจบ

อธิบายพรหมวิหารฌาน



บัดนี้ เพื่อแสดงรูปาวจรกุศลเป็นไปด้วยอำนาจพรหมวิหารมีเมตตา-
ฌานเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา
ดังนี้ อีก. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กตเม ธมฺมา กุสลา เป็นต้นนั้นต่อไป.